ติดตั้ง EV CHARGER ยังไงให้ปลอดภัย?

1.) ห้าม ใช้เต้ารับชนิดหยิบยกได้ (PORTABLE SOCKET OUTLET) ในการจ่ายไฟให้เครื่องชาร์จ หรือเรียกกันทั่วไปว่า ปลั๊กพ่วง ห้าม ใช้โดยเด็ดขาด

2.) สายป้อนและสายเมนของเครื่องชาร์จ กำหนดค่า DEMAND FACTOR เท่ากับ 1.0

3.) สายวงจรย่อย ของเครื่องชาร์จ กำหนดค่า DEMAND FACTOR เท่ากับ 1.25

4.) ต้องมีสายดินและมีการต่อสายลงดินที่ถูกต้องและมีค่าความต้านทานดินไม่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้

5.) ต้องมีเครื่องตัดไฟรั่ว เพื่อป้องกันอันตราย โดยมีรายละเอียดดังนี้

5.1 อุปกรณ์ตัดไฟรั่ว RCD TYPE B สามารถตัดไฟรั่ว AC ที่ ≤ 30 mA. และ DC ที่ <6 mA.

5.2 อุปกรณ์ตัดไฟรั่ว RCD TYPE A สามารถตัดไฟรั่ว AC ที่ ≤30 mA. และมีฟังช์ชั่นการตรวจจับ การรั่วไหลไฟของ DC ที่ <6 mA.  

ข้อที่ 5 นี้สำคัญเพราะหลายแบรนด์ไม่มีโหมดป้องกันไฟรั่ว DC <6 mA. ต้องติดตั้งเพิ่มเติมทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม DC FAULT CURRENT นี้มักเกิดกับอุปกรณ์ที่เป็นวงจรของ CONVERTER คือวงจรสำหรับแปลงไฟฟ้าจาก AC เป็น DC เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ที่มีการติดตั้งใช้ในรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถไฟฟ้า การรั่วของ DC FAULT CURRENT นี้ไม่ได้ทำอันตรายโดยตรงมาที่คนครับแต่จะมีผลต่อ RCD TYPE A ซึ่งทำให้ทำงานผิดพลาดจากที่ควรจะเป็น ซึ่งช่างไฟฟ้าเรียกกันว่าทำงานหลุด CURVE

ในกรณีของรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดหรือรถไฟฟ้าที่ยังใหม่ๆอยู่ปัญหาของ   DC  FAULT  CURRENT อาจไม่มากนัก แต่คิดดูครับว่า รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถไฟฟ้าที่ใช้งานในบ้านเราต้องเจอความร้อนเกิน 30 Co,ฝน,น้ำท่วม,ความชื้น เพราะฉะนั้นเมื่อผ่านไปเป็นปีอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์เหล่านี้ย่อมเกิดการเสื่อมสภาพได้ อีกทั้งรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริดและรถไฟฟ้าก็มีการชาร์จไฟฟ้าในโรงรถที่บ้าน ถ้ามีไฟรั่วเกิดขึ้นย่อมอันตรายต่อผู้พักอาศัยเช่น  คุณพ่อ , คุณแม่ , ลูก , หลานและผู้คนที่ต้องผ่านเข้าไปในบริเวณที่จอดรถนั้นๆ ดังนั้นจึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะละเลยไฟรั่วทั้ง 2 แบบ  ทั้ง AC และ DC

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *